Lecture

    บทที่ 2 การพัฒนาเว็บไซต์

จัดระบบโครงสร้างข้อมูล(Information Architecture)
 การจัดระบบโครงสร้างข้อมูลเป็นพื้นฐานในการออกแบบเว็บไซท์ที่ดี ได้แก่ รูปแบบการนำเสนอ ระบบการทำงานแบบจำลอง ระบบเนวิเกชัน และอินเตอร์เฟสของเว็บดังนั้น การจัดระบบโครงสร้างข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องอยู่ในกระบวนการออกแบบเว็บไซต์การจัดระบบโครงสร้างข้อมูล คือการพิจารณาว่า เว็บควรจะมีข้อมูลและการทำงานใดบ้าง โดยเริ่มจากการกำหนด
เป้าหมาย กลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย เนื้อหาและการใช้งานที่จำเป็น นำมาจัดกลุ่มให้เป็นระบบ

Phase 1 : สำรวจปัจจัยสำคัญ(Research)
1. รู้จักตัวเอง-กำหนดเป้าหมายและสำรวจความพร้อม
2. เรียนรู้ผู้ใช้-ระบุกลุ่มผู้ใช้และศึกษาความต้องการการ
3. ศึกษาคู่แข่ง-สำรวจการแข่งขันและการเรียนรู้คู่แข่ง

Phase 2 : พัฒนาเนื้อหา(Site Content)
4. สร้างกลยุทธ์การออกแบบ
5. หาข้อสรุปขอบเขตเนื้อหา

Phase 3 : พัฒนาโครงสร้างเว็บไซท์(Site Structure)
6. จัดระบบข้อมูล
7. จัดทำโครงสร้างข้อมูล
8. พัฒนาระบบเนวิเกชัน

Phase 4 : ออกแบบและพัฒนาหน้าเว็บ(Visual Design)
9. ออกแบบลักษณะหน้าตาเว็บ
10. พัฒนาเว็บต้นแบบและข้อกำหนดสุดท้าย

Phase 5 : พัฒนาและดำเนินการ (Production & Operation)
11. ลงมือพัฒนาเว็บ
12. เปิดเว็บไซท์
13. ดูแลและพัฒนาต่อเนื่อง

***************************************************************************************************************************
ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการท่องเว็บไซต์
1.   เบราเซอร์ที่ใช้  
          - เบราเซอร์คือโปรแกรมที่ใช้เรียกดูเว็บเพจ   โดยสามารถแสดงผลได้ทั้งรูปแบบตัวอักษร , รูปภาพ   และภาพเคลื่อนไหว
          - มีเบราเซอร์หลายชนิดที่ได้รับความนิยม  เช่น
               * Internet   Explorer
               * Netscape   Navigator
               * The    World
               * Opera
               * Mozilla
               * Firefox
          - การออกแบบเว็บไซต์ตามคุณสมบัติของเบราเซอร์
               * เว็บไซต์สำหรับเบราเซอร์ทุกร่น
               * เว็บไซต์สำหรับเบราเซอร์รุ่นล่าสุด
               * เว็บไซต์ตามความสามารถของเบราเซอร์
               * เว็บไซต์ที่มีหลายรูปแบบ
     2.   ระบบปฏิบัติการ (Operating  System) 
          - ระบบปฏิบัติการเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเบราเซอร์มาก   โดยแต่ละระบบปฏิบัติการจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของชนิดและรุ่นของเบราเซอร์ที่ใช้ได้ , ระดับความละเอียดของหน้าจอ , ชุดสีของระบบ   และชนิดของตัวอักษรที่มาพร้อมกับระบบ   เป็นต้น
               * การแสดงผลของ windows จะมีขนาดใหญ่กว่า Mac เล็กน้อย
               * ความสว่างของหน้าจอบน Mac จะมากกว่า Windows และ Unix
     3.   ความละเอียดของหน้าจอ
          - ขนาดของจอมอนิเตอร์มีหลายขนาด เช่น 15",17",21" และอื่น ๆ
          - ความละเอียดของหน้าจอ (monitor resolution) มีหน่วยเป็น Pixel
               * ความละเอียด 640 x 480 หมายถึง หน้าจอมีจุดพิกเซลเรียงตัวตามแนวนอน 640 พิกเซล และตามแนวตั้ง 480 พิกเซล
          - ความละเอียดของหน้าจอจะไม่ขึ้นกับบขนาดของมอนิเตอร์ที่ใช้    แต่จะขึ้นกับประสิทธิภาพของการ์ดแสดงผลว่าสามารถทำได้ละเอียดแค่ไหน
               * EX: จอขนาด 17"  สามารถตั้งค่าความละเอียดได้ตั้งแต่ 640 x 480 จนถึง 1600x1200 เป็นต้น
    
     4.   จำนวนสีที่จอของผู้ใช้สามารถแสดงได้
          - มอนิเตอร์ที่สามารถแสดงสีที่แตกต่างกัน   ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการ์ดจอ (video card)
          - จำนวนหน่วยความจำในการ์ดจอ (video memory) ทีมากขึ้นจะทำให้สามารถแสดงสีได้มากขึ้น
          - จำนวนสีที่การ์ดจอสามารถ แสดงได้นั้น   ขึ้นอยู่กับค่าความละเอียดของสีที่เรียกว่า bit depth หรือ color depth ซึ่งก็คือจำนวนบิตที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแต่ละพิกเซล    
          - ชุดสีสำหรับเว็บ (Web Palette) หมายถึงชุดสีจำนวน 216 สีที่มีอยู่เหมือนกันในระบบปฏิบัติการ Windows และ Mac
          - ปัจจุบัน Web Palette มีความสำคัญลดน้อยลง   เนื่องจากจอของผู้ใช้สามารถแสดงสีได้มากขึ้น   แต่ใน tool ต่าง ๆ เช่น Dreamweaver ก็ยังเห็นชุดสีเหล่านี้ปรากฏอยู่
     5.   ชนิดของตัวอักษรที่มีอยู่ในเครื่องของผู้ใช้
          - MS  Sans  Serif  VS  Microsoft  Sans  Serif
               * MS   Sans Serif เป็นฟอนต์แบบบิตแมพ (bitmapped  font )  ที่ออกแบบขึ้นจากจุดของพิกเซล   โดยมีการออกแบบแต่ละตัวอักษรไว้เป็นขนาดที่แน่นอน
               * Microsoft  Sans  font   เป็นฟอนต์ที่มีโครงสร้างของอักขระเป็นแบบเวคเตอร์หรือลายเส้น (vector  font)  โดยมีการออกแบบเอาท์ไลน์ไว้เพียงแบบเดียว   แต่สามารถปรับขนาดได้อย่างไม่จำกัด
          - ตัวอักษรแบบกราฟิก (Graphic  Text)
          ข้อดี
               * สามารถกำหนดลักษณะของตัวอักษรได้อย่างแน่นอน   ทั้งชนิด   ขนาด   สี
               *ผู้ชมทุกคนจะมองเห็นตัวอักษรได้เหมือนกัน  โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวอักษรชนิดนั้นติดตั้งไว้ใน เครื่อง
               * สามารถสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเว็บได้จากรูปแบบของตัวอักษร
          ข้อเสีย
               * ใช้เวลาในการ download มากกว่า
               * ลำบากในการแก้ไขและเปลี่ยนแปลง
               * ข้อความที่เป็นกราฟิกจะไม่สามารถค้นหาได้ด้วย search engine
*********************************************************************************

บทที่ 8 Designing Web Colors (เลือกใช้สีเว็บไซต์)
เลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์

 สีสันในเว็บเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดึงดูดความสนใจของผู้ใช้   เนื่องจากสิ่งแรกที่ผู้ใช้มองเห็น จากเว็บก็คือสี   ซึ่งเป็นสิ่งกำหนดบรรยากาศและความรู้สึกของเว็บไซต์
          - เราสามารถใช้สีกับทุกองค์ประกอบของเว็บเพจ   ตั้งแต่รูปภาพ  ตัวอักษร   สีพื้นหลัง   การใช้สีที่เหมาะสมจะช่วยในการสื่อความหมายของเนื้อหา
          - การใช้สีพื้นใกล้เคียงกับสีตัวอักษร   บางครั้งอาจสร้างความลำบากในการอ่าน
          - การใช้สีที่มากเกินความจำเป็นอาจสร้างความสับสนให้กับผู้อ่าน
          - การใช้สีที่กลมกลืนกันช่วยให้เว็บไซต์น่าดูชมมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของสีในเว็บไซต์
          - สามารถชักนำสายตาผู้อ่านให้ไปยังทุกบริเวณในหน้าเว็บเพจที่เราต้องการได้   เช่น  ข้อมูลใหม่   หรือโปรโมชั่นพิเศษ
          - สีช่วยเชื่อมโยงบริเวณที่ได้รับการออกแบบเข้าด้วยกัน
          - สีสามารถนำไปใช้ในการแบ่งบริเวณต่าง ๆ ออกจากกัน
          - สีสามารถใช้ในการดึงดูดความสามารถของผู้อ่าน
          - สีสามารถสร้างอารมณ์โดยรวมของเว็บเพจ
          - ช่วยสร้างระเบียบให้กับข้อความต่าง ๆ เช่น ใช้สีแยกระหว่างหัวเรื่องกับเนื้อเรื่อง
          - สามารถส่งเสริมเอกลักษณ์ขององค์กรหรือหน่วยงานนั้น ๆ    

การผสมสี (Color  Mixing)   มี 2 แบบ
          1. การผสมแบบบวก (Additive  mixing)  จะเป็นรูปแบบการผสมของแสง   ไม่ใช่การผสมของวัตถุที่มีสีบนกระดาษ   สามารถนำไปใช้ในสื่อใด ๆ ที่ใช้แสงส่องออกมา เช่น จอโปรเจคเตอร์  ทีวี 
          2. การผสมแบบลบ (Subtractive  mixing)  การผสมสีแบบนี้ไม่เกี่ยวข้องกับแสง   แต่เกี่ยวเนื่องกับการดูดกลืนและสะท้อนแสงของวัตถุต่าง ๆ    สามารถนำไปใช้ในสื่อที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัตถุมีสี เช่น ภาพวาดของศิลปิน   รูปปั้น หรือ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

ความกลมกลืนของสี
          -   ความเป็นระเบียบของสี   ที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงความสมดุล   และความสวยงามในเวลาเดียวกัน
               *การใช้สีที่จืดชืดเกินไป  จะทำให้เกิดความรู้สึกที่น่าเบื่อ  และไม่สามารถดึงดูดความสนใจจาก ผู้ชมได้
               * การใช้สีที่มากเกินไป ก็จะดูวุ่นวาย   ขาดระเบียบ  และอาจสร้างความสับสนให้กับผู้ชม
          -   เป้าหมายในเรื่องสี    คือการนำเสนอเว็บไซต์โดยใช้ชุดสีในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย      น่าสนใจ
และสื่อความหมายได้อย่างเหมาะสม

รูปแบบชุดสีพื้นฐาน (Simple  Color  Schemes)
          1.  ชุดสีร้อน (Warm  Color  Scheme)  ประกอบด้วยสีม่วง , น้ำเงิน , น้ำเงินอ่อน , ฟ้า , ฟ้าเงินแกมเขียว  และสีเขียว   โดยจะให้ความรู้สึกเย็นสบาย   องค์ประกอบที่ใช้สีเย็นจะดูสุภาพ   เรียบร้อย
          2.  ชุดสีแบบเดียว  (Monochromatic  Color  Scheme)    เป็นรูปแบบชุดสีที่ง่ายที่สุด   คือมีค่าของสีบริสุทธิ์เพียงสีเดียว   แต่เพิ่มความหลากหลายโดยการเพิ่มความเข้ม  อ่อนในระดับต่าง ๆ    และชุดสีแบบนี้ค่อนข้างจะมีความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว   แต่ในบางครั้งอาจทำให้ดูไม่มีชีวิตชีวา   เพราะขาดความหลากหลายของสี
          3.  ชุดสีที่คล้ายคลึงกัน (Analogous  Color  Scheme)  ประกอบด้วยสี 2 หรือ 3 สีที่ติดอยู่กันในวงล้อ   สามารถเพิ่มเป็น 4 หรือ 5 สีได้   แต่อาจส่งผลให้ขอบเขตของสีกว้างไป
          4.  ชุดสีตรงข้ามข้างเคียง (Split  Complementary  Color  Scheme)  เป็นชุดสีที่เปลี่ยนแปลงมาจากชุดสีตรงข้าม   และชุดสีแบบนี้มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น   แต่จะมีผลให้ความสดใส  ความสะดุดตา  และความเข้ากันของสีลดลงด้วย
          5.  ชุดสีตรงข้ามข้างเคียงทั้ง 2 ด้าน (Double  Split  Complementary  Color  Scheme) ดัดแปลงมาจากชุดสีตรงข้ามเช่นกัน   แต่สีตรงข้ามทั้ง 2 สีถูกแบ่งแยกเป็นสีด้านข้างทั้ง  2 ด้าน   และชุดสีแบบนี้มีความหลากหลายของสีที่มากขึ้น   แต่จะมีความสดใสและกลมกลืนของสีที่ลดลง
          6.  ชุดสีเย็น (Cool  Color  Scheme)  เว็บเพจที่ใช้โทนสีเย็น   ให้บรรยากาศคล้ายทะเล  รู้สึกเย็นสบาย
          7.  ชุดสีแบบสามเส้า (Triadic  Color  Scheme)  เป็นชุดสีที่อยู่ที่มุมของสามเหลี่ยมด้านเท่าทั้งสาม   ซึ่งเป็นสีที่มีระยะห่างในวงล้อสีเท่ากัน   จึงมีความเข้ากันอย่างลงตัว
          8.  ชุดสีตรงข้าม (Complementary  Color  Scheme)  คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงล้อสี   เมื่อนำสีทั้งสองมาใช้คู่กัน   จะทำให้สีทั้งสองมีความสว่างและสดใสมากขึ้น